สภาพทั่วไปของโรงเรียน
:: ปีที่ก่อตั้ง : พ.ศ.2518 รวมเวลาที่ก่อตั้ง 44 ปี
:: สถานที่ตั้ง : หมู่ที่ 5 ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
:: พื้นที่ : 52 ไร่ 104 ตารางเมตร
:: อาณาเขต : ทิศเหนือ ติดกับถนนสายบางกระทุ่ม-พิษณุโลก
ทิศใต้ ติดกับที่นา
ทิศตะวันออก ติดกับทางรถไฟสายบางกระทุ่ม-พิษณุโลก
ทิศตะวันตก ติดกับที่นา
:: ขนาดโรงเรียน : โรงเรียนขนาดกลาง
:: ชั้นที่เปิดสอน : ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
:: สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
:: โทรศัพท์ : 0-5539-1123
:: โทรสาร : 0-5539-1123
:: อีเมล : bkp.ac.th@gmail.com
:: เว็บไซต์ : http://www.bkp.ac.th
สภาพชุมชุน
ภูมิประเทศ
อำเภอบางกระทุ่มมีพื้นที่ประมาณ 477.03 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 279,393.75 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดพิษณุโลก สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ ราบลุ่ม มีแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง จำนวนมาก แม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านตำบลต่าง ๆ คือแม่น้ำน่าน แคววังทอง แคววัดตายม
การปกครอง
อำเภอบางกระทุ่มมีจำนวนประชากรในปี พ.ศ. 2554 ทั้งสิ้น รวม 66,934 คน จำแนกเป็นเพศชาย 32,678 คน เพศหญิง 34,256 คน แบ่งการปกครองเป็น 9 ตำบล 87 หมู่บ้าน และจำแนกเป็น อบต. 7 อบต. เทศบาล 2 เทศบาล
สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา ผลผลิต ที่มีชื่อเสียงมาสู่อำเภอ คือ กล้วยตาก อาชีพด้านอื่น ๆ เป็น การพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม โดยมีโรงงานน้ำตาล 1 โรง โรงสีขนาดใหญ่ 3 แห่ง ขนาดเล็ก 13 แห่ง
ข้อมูลด้านศาสนา
อำเภอบางกระทุ่มมีวัดในพระพุทธศาสนา รวม 43 วัด จำแนกเป็นนิกาย มหานิกาย 42 วัด ธรรมยุต 1 วัด มีศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ วัดกำแพงมณี ( ปี พ.ศ.2542)
ข้อมูลด้านวัฒนธรรม
วัฒนธรรม ประเพณีของประชาชนอำเภอบางกระทุ่ม ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมประเพณี คนภาคกลางทั่วไป โดยมีประเพณีท้องถิ่นที่น่าสนใจ ได้แก่
ประเพณีการแข่งเรือบกของตำบลเนินกุ่ม จัดเป็นประจำทุกปี ในวันแรม 1–2 ค่ำ เดือน 10 ที่วัดเนินกุ่ม เดิมเป็นการแข่งขันในลำคลอง ซึ่งต่อมาลำคลองตื้นเขิน จึงเปลี่ยนเป็นแข่งเรือบกแทน ใช้ไม้ไผ่ ยาว 8 ศอก แทนลำเรือ ให้ผู้แข่งขัน 9 คน นั่งอยู่บนหลังไม้ไผ่ แล้วถือวิ่งไปพร้อมกัน บนลู่วิ่ง ที่เป็นโคลนระยะทางประมาณ 200 เมตร การแข่งขันปล่อยครั้งละ 2 ลำ นับผลแพ้ชนะ โดยนับจำนวนที่ชนะ 2 ใน 3 เที่ยว เช่นเดียวกับการแข่งเรือยาวทั่ว ๆ ไป
คำขวัญอำเภอบางกระทุ่ม
กล้วยตากฉ่ำหวาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร เลื่อมใสหลวงพ่อหรั่ง โอท็อปดังห้าดาว สืบสาวตำนานหลวงพ่อยม ชมประเพณีแข่งเรือบก โบสถ์นาคปรกบนดอกบัว
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะเป็นรูปวงกลมมีฟันเฟืองล้อมรอบ
ภายในมีต้นกระทุ่มเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียน
ฟันเฟือง หมายถึง การศึกษาพัฒนาอาชีพก้าวไปอย่างมั่นคง
เราจะทำตน ให้เป็นคนดีของสังคม
พัฒนา สามัคคี เรียนดี กีฬาเด่น
สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะทำให้เกิดสุข
สีม่วง คือ ความเจริญงอกงามทางการศึกษาของนักเรียน
สีแสด คือ ความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
ต้นกระทุ่ม
วิสัยทัศน์
โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
เป็นเลิศด้านคุณธรรมบนพื้นฐานความเป็นไทย
รักษ์สิ่งแวดล้อม
น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์บนพื้นฐานความเป็นไทย
3. ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีองค์ความรู้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล
4. สร้างเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) โดยใช้ 5G Model ในการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ
6. พัฒนาระบบการจัดการศึกษาตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA)
7. ปลูกฝังให้ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
8. ปลูกฝังให้ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพได้ตามมาตรฐานสากล
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีองค์ความรู้ และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล
4. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
5. มีระบบบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (OBECQA)
6. มีระบบการจัดการศึกษาตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (OBECQA)
7. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
8. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม